ชื่อพื้นเมือง | นนทรี |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Peltophorum pterocarpum |
ชื่อวงศ์ | CAESALPINIOIDEAE |
ชื่อสามัญ | |
ลักษณะเด่นของพืช | เปลือกต้นใช้เป็นยาขับโลหิต ขับประจำเดือนของของสตรี |
บริเวณที่พบ | ขอบสนามฟุตบอลด้านหน้าโรงเรียน |
ประโยชน์ | |
ประโยชน์ : เปลือกต้นใช้เป็นยาขับโลหิต ขับประจำเดือนของของสตรี ลักษณะของนนทรี ต้นนนทรี เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้
รวมไปถึงประเทศศรีลังกา
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์
และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง
มีความสูงของต้นประมาณ 8-15
เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลาย
ๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ
ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป
ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง
ชอบขึ้นตามป่าชายหาด ใบนนทรี ใบออกเป็นช่อเรียงสลับเวียนกันถี่
ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง
ช่อหนึ่งยาวประมาณ 20-27 เซนติเมตร มีใบย่อยที่ออกตรงข้ามกันเป็นคู่
ๆ ประมาณ 9-13 คู่ แขนงย่อยคู่ต้น ๆ
จะสั้นกว่าคู่ถัดไป และคู่ที่อยู่ปลายช่อก็จะสั้นเช่นกัน
ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบมนเบี้ยว
ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ
1-1.5 เซนติเมตรหลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม
ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อน ดอกนนทรี ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งขึ้น
โดยจะออกตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง มีกิ่งแขนงในช่อดอก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 20-30
เซนติเมตรและกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีเหลืองสด กลีบดอกมี 5 กลีบ
กลีบดอกมีลักษณะบางและค่อนข้างยับย่น โคนกลีบมีขนสีน้ำตาลอยู่ประปราย
ดอกเมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ
ขอบกลีบวางเกยทับกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 ก้าน
โดยทั่วไปจะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม และออกดอกทั้งต้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
แต่อาจขยายเวลาได้ตามลักษณะของดินฟ้าอากาศในแต่ละปี
และลักษณะของพันธุกรรมของต้นนนทรีแต่ละต้น ผลนนทรี เนื่องจากต้นนนทรีเป็นพืชในตระกูลถั่ว
จึงออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบนเป็นรูปหอก ปลายฝักและโคนฝักเรียวแหลม มีขนาดกว้างประมาณ
2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร
ฝักสดเป็นสีเขียวพอแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ภายในฝักมีเมล็ดวางตัวเรียงขวางกับฝักประมาณ 1-4 เมล็ด เมล็ดมีความแข็งแรง
มีรูปร่างและขนาดเท่าใบย่อย โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน สรรพคุณของนนทรีป่า เปลือกต้นมีรสฝาดร้อน
ใช้เป็นยากล่อมเสมหะและโลหิต (เปลือกต้น) ช่วยปิดธาตุ
(เปลือกต้น) เปลือกต้นใช้เป็นยาขับผายลม เปลือกต้นมีสารแทนนินสูง จึงช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเสียได้ (เปลือกต้น ด้วยการนำเปลือกต้นมาเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน แล้วเอาน้ำมากิน (เปลือกต้น) ช่วยแก้บิด |
นางสาววรญา วิไลรัตน์
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านเชียงราย)
ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
ความพึงพอใจด้านกระบวนการและการให้บริการ
ความพึงพอใจด้านสถานที่หลังการปรับปรุง
เข้าใช้จาก IP : 44.192.254.173 | |
Online อยู่ : 1 | |
วันนี้ | 6 |
เมื่อวานนี้ | 13 |
เดือนนี้ | 33 |
ปีนี้ | 130 |
รวมทั้งหมด | 130 |
Record: 26 (25.09.2023) ( Counter 03-10-2023 ) |