ชื่อพื้นเมือง | ผักเฮือด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ficus lacor Buch-Ham. |
ชื่อวงศ์ | MORACEAE |
ชื่อสามัญ | |
ลักษณะเด่นของพืช | ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่และรูปรี ขอบใบเรียบ ผิวใบหนา |
บริเวณที่พบ | ขอบสนามวอลเล่ย์บอลและขอบสนามฟุตบอลด้านหน้าโรงเรียน |
ประโยชน์ | |
ประโยชน์ เปลือก ดื่มแก้ปวดท้อง ส่วนที่เป็นผัก ยอดอ่อน ใบอ่อนฤดูกาล / รส
ปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน / รสเปรี้ยวมัน การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ประโยชน์ทางยา เปลือก-ต้มดื่มแก้ปวดท้อง หญิงแม่ลูกอ่อนที่มีอาการไอห้ามกิน
ผักเฮือดเพราะจะทำให้โรคกำเริบ ลักษณะพฤกษศาสตร์ : ผักเฮือดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ และเป็นไม้ผลัดใบ
ลำต้นสูง 8 - 15 เมตร ในช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม จะทิ้งใบหมด
และในเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนมีนาคมจะผลิใบใหม่ ใบอ่อนสีชมพู หรือชมพูอมเขียว
ใบอ่อนแลดูใสแวววาวไปทั้งต้น และมีปลอกหุ้มใบในระยะเริ่มแรก พอเจริญเต็มที่ ใบอ่อนกลายเป็นใบแก่
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ สีเขียว รูปรี หรือรูปไข่ปนขอบขนาน ปลายใบมนทู่
ขอบใบเรียว ผิวใบมันกว้าง 6 - 7 ซม. ยาว 7 - 18 ซม. มีหูใบขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อ
เส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 0.4 - 0.6 ซม. ก้านใบสั้น ออกจากซอกใบ ผลอ่อนสีเขียว
และเปลี่ยนเป็นสีชมพูแดงม่วง หรือดำ เมื่อแก่เต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. ประโยชน์ทางยา :
หมอพื้นบ้านทางภาคเหนือใช้เปลือกของต้นผักเฮือด
ประมาณครึ่งถึงหนึ่งฝ่ามือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มดื่มแก้ปวดท้อง และมีข้อห้ามว่า
หญิงแม่ลูกอ่อนที่มีอาการไอ ห้ามกินผักเฮือดจะทำให้โรคกำเริบขึ้น ประโยชน์ทางอาหาร : ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล
ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเฮือดรับประทานเป็นผักได้ ออกใบในปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน
|
นางสาววรญา วิไลรัตน์
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านเชียงราย)
ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
ความพึงพอใจด้านกระบวนการและการให้บริการ
ความพึงพอใจด้านสถานที่หลังการปรับปรุง
เข้าใช้จาก IP : 44.220.247.152 | |
Online อยู่ : 2 | |
วันนี้ | 27 |
เมื่อวานนี้ | 49 |
เดือนนี้ | 428 |
ปีนี้ | 604 |
รวมทั้งหมด | 604 |
Record: 123 (29.08.2024) ( Counter 13-09-2024 ) |